แผ่นโฟมปิดแผลเคลือบลิปโดคอลลอยดและเอ็นโอเอเอสเอฟแบบมีชั้นยึดเกาะชนิดอ่อนนุ่ม แผ่นปิดแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น 2 เท่า (ราคาต่อ 1 แผ่น)
หมวดหมู่ : การดูแลแผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลเรื้อรัง ,  แผ่นปิดแผลกดทับ/เรื้อรัง ,  Urgo , 
Share
ส่วนประกอบ (ผลิตจากวัสดุ) ประกอบด้วย
1. ชั้นที่สัมผัสแผล เป็นชั้นยึดเกาะชนิดอ่อนนุ่มเคลือบด้วยอนุภาคลิปิโดคอลลอยด์ (คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส) และเอ็นโอเอสเอฟ (นาโนโอลิโกแซคคาไรด์ แฟคเตอร์) บนแผ่นโฟมดูดซับโพลียูรีเทน
2. ชั้นนอกสุด ทําจากโพลียูรีเทน ชนิดไม่ทิ้งเส้นใยตกค้าง
คุณสมบัติเฉพาะ
เมื่อสัมผัสกับของเหลวจากแผล ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของเทคโนโลยีลิปิโดคอลลอยด์และเอ็นโอเอเอสเอฟ อนุภาคไฮโดรคอลลอยด์จะรวมกับของเหลวจากแผล เกิดการจัดเรียงตัวเป็นลิปิโดคอลลอยฟิล์มรักษาสภาวะความชุ่มชื้น เอื้ออํานวยแก่สภาวะการทํางานของไฟโบรบลาสต์ เคราติโนไซต์ และเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการสมานแผล ช่วยให้แผลสมานเร็ว
ในขณะเดียวกัน เอ็นโอเอสเอฟ (นาโนโอลิโกแซคคาไรด์ แฟคเตอร์) เมื่อสัมผัสกับแผล จะเกิดการจัดเรียงตัวเป็นฟิลม์ที่มีความจําเพาะเจาะจงกับเซลล์บริเวณที่เกิดความเสียหาย โดยช่วยจํากัดอันตรายต่อเซลล์จากการลดการทํางานของเอ็มเอ็มพี (เมทริกซ์เมทัลโลโปรตีเอส) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สามารถทําลายเอกซ์ตราเซลลูลา เมทริกซ์แล้วทําให้กระบวนการสมานแผลชลอตัว
- ลิปิโดคอลลอยด์ และเอ็นโอเอสเอฟ ทําให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการสมานของแผล
- แผ่นโฟมโพลียูรีเทน ซึ่งช่วยดูดซับของเหลวได้มากเป็นพิเศษ ช่วยให้มั่นใจว่าจะสามารถระบายของเหลวจากแผลได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยป้องกันผิวหนังรอบๆแผลไม่ให้เกิดการเปื่อยยุ่ย
- วัสดุชั้นนอกสุดซึ่งทําหน้าที่เป็นตัวรองแผ่นปิดแผล มีความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น ช่วยให้สะดวกสบาย สามารถงอโค้งไปตามรูปแผล
- เออร์โก้สตาร์ท เหมาะที่จะใช้ร่วมกับการรักษาด้วยผ้าพันแผลแบบกดทับเนื่องจากมีความสามารถในการเก็บกักของเหลวไว้ภายใต้แรงกด
ข้อบ่งใช้
เออร์โก้สตาร์ท มีข้อบ่งใช้ในการรักษาแผลเรื้อรังทุกชนิดที่มีของเหลวจากแผลน้อยจนถึงปานกลาง (แผลกดทับ แผลเรื้อรังที่เท้าจากเบาหวาน แผลเรื้อรังที่ขา แผลเฉียบพลันเรื้อรัง)
วิธีใช้
การเตรียมแผล
1) ทำความสะอาดแผลตามปกติ
2) ถ้าในขั้นตอนของการทำแผลมีการใช้ยาหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ให้ชะลางแผลออกด้วยน้ำเกลือก่อน ค่อยๆเช็ดผิวหนังโดยรอบให้แห้ง หากจําเป็นสามารถตัดแผ่นปิดแผลเพื่อให้เข้ากับรูปแผลได้โดยใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
การใช้แผ่นปิดแผล
1) ดึงแผ่นปกป้องออกจากแผ่นปิดแผล
2) ติดแผ่น เออร์โก้สตาร์ท ด้านที่เป็นชั้นยึดเกาะลงบนแผล
3) ยึดแผ่นปิดแผลไว้ด้วยผ้าพันแผลที่เหมาะสม อาจใช้ ผ้าพ้นแผลชนิดกดทับ ปิดทับบนแผ่นปิดแผลได้ถ้ามี
การเปลี่ยนแผ่นปิดแผล
เปลี่ยนแผ่นปิดแผลได้ทุก 2-4วัน และสามารถปิดทิ้งไว้ได้นานถึง 7 วัน ขึ้นกับปริมาณของเหลว และสภาพแผล ระยะเวลาที่แนะนำในการรักษาขั้นต่ำอยู่ที่ 4-5 สัปดาห์
ข้อควรระวังในการใช้
- ชั้นยึดเกาะอาจติดกับถุงมือยางได้
- ถ้ามีสัญญาณของการติดเชื้อให้รักษาการติดเชื้อด้วยวิธีที่เหมาะสมก่อน
- ในกรณีที่แผลมีลักษณะผิดปกติเช่นเกิดภาวะการแบ่งเซลล์ผิดปกติ ให้วินิจฉัยก่อนใช้ เออร์โก้สตาร์ท ว่า ภาวะผิดปกตินั้นไม่ได้เกิดจากเนื้องอก เพื่อไม่ให้การรักษารบกวนการวินิจฉัย
- เนื่องจากแผ่นปิดแผลทํางานเกี่ยวข้องต่อขบวนการสมานแผล ดังนั้นจึงอาจกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บๆคันๆที่บริเวณแผลได้
- เนื่องจากไม่มีข้อมูลทางคลินิกในการรักษาแผลเฉียบพลันในระยะต้นและการรักษาอีพิเดอร์โมไลซิส บูลโล ซา (แม้ว่าจะเป็นแผลในระยะเวลานานแล้วก็ตาม) ไม่แนะนําให้ใช้เออร์โก้สตาร์ท
- ห้ามนําแผ่นปิดแผลมาทําการฆ่าเชื้อซ้ำ
- แต่ละแผ่นแนะนําให้ใช้ครั้งเดียว การนํามาใช้ซ้ำอาจทําให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- เก็บแผ่นปิดแผล เออร์โก้สตาร์ท ในแนวนอน และเก็บให้หางจากความชื้นและความร้อน(อุณหภมิต่ำกว่า 25°c )
ข้อห้ามใช้
- ห้ามใช้ในแผลที่ไม่สามารถสมานได้โดยการรักษาแบบปกติ ได้แก่
- แผลมะเร็ง
- แผลฟิสทูลา ที่มีตุ่มหนองลึก