Last updated: 26 ต.ค. 2560 | 5363 จำนวนผู้เข้าชม |
ในคนไข้ที่นอนติดเตียงหรือขยับได้น้อยมีโอกาสจะเกิดผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสปัสสาวะอุจจาระ (Incontinence Allergic Dermatitis)
Incontinence-Associated Dermatitis( IAD)
แผลผิวหนังอักเสบเป็นการตอบสนองของผิวต่อการสัมผัสกับปัสสาวะและอุจจาระเป็นเวลานาน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นผิวมีการอักเสบและแดง ซึ่งอาจมีการกัดกร่อนหรือเปิดออกเป็นแผลของผิวร่วมด้วย
•IAD สร้างความเจ็บปวดและทุกทรมานต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะช่วงเวลาการทำความสะอาด
•ภาวะ IAD เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ระยะเวลานอนใน รพ. และค่าใช้จ่ายในการรักษาแผล
#แผลผิวหนังอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร
•ปกติผิวหนังมีภาวะความเป็นกรดอ่อน pH 5.5 -5.9 ส่วนปัสสาวะและอุจจาระเป็นด่าง มีค่า pH 4.8 - 8 ซึ่งทำลายเกราะกรดอ่อนของผิว อันนำไปส๓่การเกิดแผล นอกจากนั้นเอนไซม์ในอุจจาระยังทำลายไขมันและโปรตีนมนผิวหนังและลดคุณสมบัติในการป้องกันร่างกายของผิวหนังด้วย
- สบู่ทั่วไป มีค่า pH 9.5-11 จึงไม่แนะนำให้ใช้
การดูแลคนไข้ IAD
1. ประเมินสภาพผิวหนัง (Skin assessment)
2. ทำความสะอาดผิวหนังด้วย (Cleansing) ล้างผิวหนังที่สัมผัสอุจจาระทันที ปัสสาวะทันที หลังการขับถ่ายใช้สำลีชุบน้ำเช็ดผิวหนังเบาๆ ใช้สบู่ที่มี pH balance (5.5) ทำความสะอาด ซับให้แห้ง
3. ปกป้องผิวหนัง (Skin protection) ตามระดับของ IAD
•High Risk ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นด้วยการทาโลชั่น ครีมหรือskin barrier cream
- IAD ทาผิวหนังที่มีรอยแดงด้วย Zinc paste หรือ skin barrier cream เช่น 3M-Cavilon No Sting Barrier Film หรือ 3M-Cavilon Durable Barrier Cream 28 g
- ระดับ Fungal-appearing rash ทาครีมรักษาเชื้อรา เช่น Cotrimazole cream หรือ flamazine cream
4. ใส่ผ้าอ้อมสาเร็จรูปและเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการขับถ่าย
หลักการที่สำคัญที่สุดคือการป้ัองกันตั้งแต่แรกเมื่อรู้ว่ามีความเสี่ยง
1. ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะไม่ได้
2. ถ่ายอุจจาระ ≥ 3 ครั้งต่อวัน (ในกรณีที่ใส่ผ้าผ้อมสำเร็จรูป )
3. ตรวจพบความเปียกชื้นจากอุจจาระ/ปัสสาวะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนท่า
3 มี.ค. 2562
7 ก.ค. 2563